“Spray drier” หรือ “Spray dryer” เป็นวิธีการแปรรูปในรูปแบบหนึ่งคือการอบแห้งที่นิยมใช้กับวัตถุดิบประเภทเครื่องดื่ม , อาหารเสริม . functional Ingredient และอื่นๆ โดยรูปแบบการอบแห้งแบบพ่นฝอยไม่ได้มีหลักการที่ซับซ้อนใดๆ แต่ก็ต้องเข้าใจปัจจัยต่างๆมากมาย การอบแห้งแบบพ่นฝอย (Spray dry) คือ หลักการใช้ความร้อนดึงน้ำออก ทำให้ของเหลวกลายเป็นผง เทคโนโลยีนี้ถูกคิดค้นมาตั้งแต่ช่วงปี 1850 แล้ว จนอีก 70 ปีให้หลัง กาทำแห้งแบบพ่นฝอย (Spray dry) ก็ได้รับความนิยมแพร่หลายขึ้นมาเมื่อหลายประเทศกำลังร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีการนำไปใช้ผลิตนมผงเพื่อป้อนให้กับกองทัพ นับจากนั้นเป็นต้นมา spray dry ก็ได้รับการพัฒนาขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง กาทำแห้งแบบพ่นฝอย (Spray dry) สามารถผลิตอาหารผงคุณภาพ โดยทำงานอย่างอัตโนมัติและต่อเนื่อง วัตถุดิบโดนความร้อนแค่ช่วงสั้น เลยสามารถใช้แปรรูปได้กับอาหารที่ไวต่อความร้อนได้ วัตถุดิบที่จะนำเข้าเครื่องนี้จึงหลากหลาย เพียงแค่ขอให้ปั๊มมันเข้าเครื่องได้ กลไกการทำงานของเครื่อง spray dry เครื่อง spray dry ประกอบด้วยอุปกรณ์ไม่กี่อย่าง เช่น ตัวกรองอากาศ พัดลมเป่า […]

OEM คืออะไร? เข้าใจกันก่อนที่คิดจะทำสินค้าของตัวเอง
OEM หรือชื่อเต็มว่า “Origianl Equipment Manufacturer” คือ ผู้รับจ้างผลิตสินค้าให้กับบริษัทที่จะไปขายในแบรนด์ของตัวเองโดยโรงงานประเภทนี้จะรับจ้างผลิตสินค้าให้กับแบรนด์ต่าง ๆตามแบบที่ลูกค้ากำหนดหรือต้องการติดชื่อแบรนด์ หรือ จะไม่มีแบรนด์ก็ได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้าโดยการใช้กระบวนการผลิตของโรงงานตั้งแต่ฝ่ายผลิต ไปจนถึง เครื่องจักรต่างๆสำหรับการผลิต ซึ่งทำให้ลูกค้าที่มาจ้างโรงงานผลิตนั้น ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก โดยไม่ต้องถึงขั้นจัดตั้งโรงงานหรือซื้อเครื่องจักรผลิตสินค้าเอง ทำให้ผู้จ้างผลิตมีความเสี่ยงน้อย ใช้เงินทุนในการผลิตไม่มาก ซึ่งผลตอบแทนที่ได้ถือว่าคุ้มค่า โรงงานประเภทนี้นั้นมักจะเป็นโรงงานเปิดใหม่ ๆ หรือโรงงานที่ไม่เน้นการสร้างแบรนด์ของตนเองแต่เน้นการผลิตให้กับแบรนด์ให้กับอื่น ๆ ที่ต้องการผลิตในจำนวนน้อย หรือไม่มีโรงงานเป็นของตนเอง หมายความอย่างง่ายๆว่า “การจ้างผลิตตามสเปคสินค้าที่ต้องการ” เพื่อนำไปแปะโลโก้หรือแบรนด์ของตัวเองแล้วขายต่อนั้นเอง แต่การว่าจ้างผลิตก็มีความเสี่ยงที่ OEM จะรู้สูตร รู้ขั้นตอนการผลิตทุกอย่างแล้วทำสินค้าเลียนแบบออกมาขายแข่งในตลาด ข้อดีของการจ้างผลิต OEM สำหรับผู้ว่าจ้าง1.ต้นทุนการผลิตที่ต่ำ ในกรณีที่เป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือกลาง การลงทุนสร้างโรงงานขึ้นมาผลิตเองอาจจะไม่คุ้มค่าหรือใช้ระยะเวลาคืนทุนนานเกินไป2.ต้นทุนเริ่มต้นไม่สูง เพราะไม่จำเป็นต้องลงทุนในส่วนของการสร้างโรงงาน ที่จะมีภาระทั้งดอกเบี้ยและกลายเป็นต้นทุนผูกพันที่เป็นภาระกว่าจะทำกำไร3.สามารถเปลี่ยนกลยุทธ์ ผลิตขั้นต่ำ เปลี่ยนสูตรเพื่อทดลองตลาดได้4.สามารถเปลี่ยนสถานที่ผลิตที่ต้นทุนต่ำกว่าได้ตลอด ข้อดีของการทำธุรกิจแบบ OEM สำหรับผู้รับจ้าง1.ไม่ต้องลงทุนวิจัยหรือพัฒนาเพื่ออกแบบสินค้า เพราะทำตามสั่งของลูกค้า แต่ต้องแม่นยำในเรื่องกระบวนการผลิต2.ไม่มีค่าโฆษณาสินค้า เพราะไม่ได้ขาย แต่ต้องทำการตลาดเกี่ยวกับธุรกิจ3.เป็นธุรกิจที่เน้น Business to Business (B2B)

“HAMMER MILL” เครื่องบดยอดนิยมในอุตสาหกรรมอาหาร
Hammer Mill หรือที่คนทั่วไปอาจจะรู้จักในชื่อว่า “เครื่องบดแบบค้อนเหวี่ยง” เป็นเครื่องบดที่ใช้ลดขนาด วัตถุดิบอาหารแข็งได้หลากหลายประเภท เช่น เมล็ดธัญพืช เครื่องเทศ สมุนไพร ข้าวสาร น้ำตาลทราย และอื่นๆ หลักการของเครื่องบดแฮมเมอร์มิลล์จะมีลักษณะหัวบดเป็นหัวค้อน (hammer) หรือก้านที่ติดอยู่บนเพลาที่มีหลากหลายรูปแบบ เป็นแผ่นขนาดเดียวกันทั้งแผ่น หรือเป็นหัวค้อนที่ต่อกับหัวค้อนอันอื่นๆก็ได้ โดยอาศัยกลไกการหมุนเหวี่ยงกระแทก ทำให้วัสดุแตกเป็นชิ้นเล็กลง และมีตะแกรงเจาะรู เป็นตัวกั้น เพื่อให้เครื่องบด บดวัสดุให้ได้ขนาดที่ต้องการจึงปล่อยออก ชิ้นส่วนที่สำคัญที่จะขาดไม่ได้เลยก็คือ ตัวตะแกรงบด (Screener) ซึ่งจะใส่รอบๆโครงเครื่องในส่วนล่าง ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดความละเอียดของวัตถุดิบที่ทำการบด โดยเครื่องจะบดไปเรื่อยๆจนกว่าขนาดของวัตถุดิบจะมีชิ้นเล็กกว่ารูตะแกรงนั่นเอง เครื่องบด Hammer Mill ได้รับความนิยมสำหรับการบดวัตถุดิบเนื่องจากเป็นเครื่องบดที่มีจุดประสงค์การใช้งานที่สำคัญคือทำให้ชิ้นใหญ่กลายเป็นชิ้นเล็ก โครงสร้างไม่ซับซ้อนสามารถดูแลรักษาได้ง่าย ราคาเครื่องจะถูกกว่าเครื่องบดประเภทอื่นๆในขนาดใกล้เคียงกัน ส่วนข้อจำกัดก็คือการทำความละเอียดที่ต้องการละเอียดสูงยังไม่สามารถสู้เครื่องบดประเภทอื่นๆได้

ฟรีซดายน์ (Freeze Dried) เทคโนโลยีการอบแห้งที่ดีที่สุดในโลก!!
เทคโนโลยีการทำแห้งเยือกแข็งแบบสูญญากาศ หรือที่เรียกว่า “ฟรีซดายน์” (Freeze dried Technology) หมายถึงการทำแห้งด้วยการนำไปแช่แข็งอุณหภูมิติดลบเพื่อทำให้น้ำเปลี่ยนสถานะเป็นผลึกน้ำแข็งก่อนแล้วจึงลดความดันเพื่อให้ผลึกน้ำแข็งระเหิดเป็นไอ ด้วยการลดความดันให้ต่ำกว่าความดันปกติ เมื่ออุณหภูมิที่ต่ำติดลบมาเจอความดันในเครื่องฟรีซดายน์ที่ต่ำ จะทำให้น้ำแข็งในวัตถุดิบกลายเป็นไอทันที ผัก ผลไม้ หรือ อาหารที่ผ่านกรรมวิธีการทำแห้งแบบเยือกแข็งแบบสุญญากาศ (Freeze dried) ก็จะสามารถรักษาคุณภาพสารอาหารและคุณสมบัติทางกายภาพได้ใกล้เคียงของสดมากที่สุด รวมทั้ง นาซ่า (NASA) ก็ได้ใช้วิธีการ “ฟรีซดายน์” นี้กับอาหารและผลไม้ต่างๆ ที่ใช้เป็นอาหารให้แก่นักอวกาศ ที่อยู่ในสถานีอวกาศนอกโลกอย่างต่อเนื่อง การเก็บวัตถุดิบ ผัก ผลไม้ หรืออื่นๆที่ผ่านการอบแห้งแบบฟรีซดายน์จำเป็นต้องเก็บในภาชนะบรรจุอย่างดีเนื่องจากวัตถุดิบที่ผ่านการฟรีซดายน์จะไวต่อความชื้นมาก ทำให้เสื่อมคุณภาพได้เร็วหากมีการจัดเก็บที่ไม่ดี การจัดเก็บที่เหมาะสมก็คือการจัดเก็บในภาชนะปิดหรือบรรจุภัณฑ์แบบสูญญากาศ และสามารถทำให้คืนรูปปกติได้โดยการเติมน้ำลงไปในผลิตภัณฑ์ ซึ่งน้ำจะเข้าไปแทนที่ช่องว่างในเซลล์ ทำให้อาหารคืนรูปจนเกือบใกล้เคียงอาหารปกติ ข้อควรรู้เกี่ยวกับฟรีซดายน์ วัตถุดิบที่ผ่านกระบวนการฟรีซดราย จะมีรสชาติและสารอาหารใกล้เคียงกับอาหารปกติที่สุด ทั้งสีสัน เนื้อสัมผัส รูปร่าง การที่วัตถุดิบที่ผ่านฟรีซดายน์มีความชื้นต่ำ จึงไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ ส่งผลให้อายุการเก็บรักษาอาหารชนิดนี้ค่อนข้างนานกว่าอาหารที่ผ่านกระบวนการทำแห้งด้วยวิธีอื่น หากเก็บอย่างเหมาะสมจะสามารถเก็บได้นานถึง 20 ปี (บรรจุภัณฑ์สูญญากาศและระบบปิดที่ไม่ให้ความชื้นและอากาศเข้า) กระบวนการที่ดึงน้ำออกไปมากกว่า 95% ทำให้อาหารมีน้ำหนักเบา สะดวกต่อการพกพาและการขนส่ง ที่สำคัญ การเก็บรักษาอาหารฟรีซดราย สามารถเก็บได้ในอุณหภูมิปกติ เพียงแต่ต้องระวังเรื่องความชื้น […]